กด "Like" เพื่อรับข่าวสารความรู้ ดีดีจากเรา iLoveCoffeeTHAILAND

ดื่มกาแฟอย่างไรให้มีผลเสียน้อยที่สุด

ดื่มกาแฟอย่างไรให้มีผลเสียน้อยที่สุด


มีหลายคนที่ไม่สนับสนุนให้ดื่มกาแฟ เพราะยิ่งดื่มมาก ยิ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพ

     อีก ทั้งทำให้หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ นอนหลับไม่สนิท เร่งการหลั่งกรด ก่อให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ลดการดูดซึมแคลเซียม แถมยังทำให้ปวดหัวแทบระเบิดหากหยุดดื่มกะทันหันอีกด้วย.....


     แต่หลายคนก็ ยังผูกสมัครรักใคร่ยกให้กาแฟเป็นคู่ชีวิตเรียบร้อย อยากเลิกก็เลิกไม่ได้ หยุดดื่มเมื่อไรก็เกิดอาการเสี้ยนซ้ำเติม หงุดหงิด อารมณ์บูด ไม่มีแรงบางรายปวดหัวจนพานคิดว่าตัวเองเป็นโรคร้ายก็มี

     ด้วยความเข้าใจและห่วงใยคอกาแฟ ลองมาช่วยกันค้นหาคำตอบสิว่า “ดื่มกาแฟอย่างไรถึงไม่ทำร้ายสุขภาพ” พร้อมแนะวิธีลดปริมาณกาแฟโดยไม่ให้เกิดอาการเสี้ยน และเครื่องดื่มทดแทนกาแฟเพื่อเพิ่มความสดชื่น

มากกาเฟอีน เพิ่มอันตราย

     กาแฟ มีส่วนประกอบสำคัญคือกาเฟอีน ซึ่งเป็นสารที่พบได้ในอาหารและเครื่องดื่มหลายชนิด เช่น ชา โกโก้ น้ำอัดลม และเครื่องดื่มชูกำลัง แต่เมื่อเทียบแล้วกาแฟมีปริมาณกาเฟอีนมากกว่าหลายเท่า การดื่มกาแฟที่มีกาเฟอีนในปริมาณน้อย ราว 100 มิลลิกรัม จะทำให้ผู้ดื่มรู้สึกครึ้มอกครึ้มใจกระชุ่มกระชวย แต่หากดื่มมากถึง 600 มิลลิกรัม จะกลับมีอาการวิตกกังวลและหดหู่มาแทนที่ และหากดื่มมากกว่า 1,000 มิลลิกรัมขึ้นไปจะมีอาการกล้ามเนื้อกระตุก ความคิดและคำพูดติดขัด งุนงงสับสนใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ รู้สึกเหมือนทำงานไม่รู้จักเหนื่อยกระวนกระวาย

     บางรายอาจเห็นแสงวูบ วาบลวงตาและได้ยินเสียงดังในหู และหากดื่มมากกว่า 10,000 มิลลิกรัม จะทำให้เกิดโรคลมชัก ระบบหายใจล้มเหลว และเสียชีวิตในที่สุด

     นายแพทย์จาคอบ ไทเทิลบอม ผู้ อำนวยการศูนย์บำบัดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังและอ่อนเพลีย (Fibromyalgia and Fatigue Center) ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า เมื่อสำรวจเครื่องดื่มของผู้ป่วยลักษณะเพลียไม่มีแรง พบว่าแทบทุกคนดื่มกาแฟวันละสิบกว่าถ้วย ผู้ป่วยเหล่านี้คิดว่าดื่มกาแฟหลายถ้วยจะช่วยให้มีแรงทำงานแต่ในความเป็น จริง ยิ่งดื่มยิ่งมีกาเฟอีนในร่างกายมาก ก็เท่ากับเป็นการดึงพลังงานออกจากตัวมากเท่านั้น ยิ่งดื่มจึงยิ่งเพลียเมื่อเพลียก็ดื่มมากขึ้น หมุนเวียนเป็นวงจรเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

     หมอไทเทิลบอมแนะนำว่า เพื่อแก้อาการเพลีย ควรงดกาแฟโดยเด็ดขาดเป็นเวลา 2 - 3 เดือน และหากคนไข้ทำได้อย่างเคร่งครัด อาการเพลียจะหายไป

วันหนึ่งดื่มแค่ไหน

     องค์การ อาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) กำหนดปริมาณกาเฟอีนที่ไม่ก่ออันตรายต่อสุขภาพคือ ไม่เกิน 300 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบได้กับการดื่มกาแฟสดไม่เกิน 2 ถ้วยต่อวัน หรือกาแฟผงสำเร็จรูปไม่เกิน 3 ถ้วยต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นกับปริมาณกาเฟอีนในกาแฟ ดังแสดงในตาราง

ตารางแสดงประเภทกาแฟพร้อมปริมาณกาเฟอีน

1 ถ้วย (ปริมาณ 150 - 180 ซีซี) ปริมาณกาเฟอีน (มิลลิกรัม)
กาแฟสด (คั่วและบด)
กาแฟผงสำเร็จรูป
กาแฟไร้กาเฟอีน
80 - 140
66 - 100
2 - 4

     หาก ใครทำใจลดปริมาณกาแฟไม่ได้จริงๆ หรือลดแล้วยังกลัวผลร้ายจากกาแฟ ฟังทางนี้ค่ะ เรามี 9 วิธีดื่ม กาแฟให้เกิดผลเสียต่อร่างกายน้อยที่สุดมาแนะนำ ดังนี้

1. ดื่มกาแฟที่สกัดกาเฟอีนออกแทนกาแฟสดหรือ กาแฟสำเร็จรูป เช่น หากดื่มกาแฟสด 4 ถ้วยในหนึ่งวัน ให้แทนที่ด้วยกาแฟสกัดกาเฟอีนออกทั้งสี่ถ้วยหรือครึ่งหนึ่ง เพื่อลดปริมาณกาเฟอีนที่ร่างกายจะได้รับ

2. หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มชนิดอื่นที่มีกาเฟอีน เช่น ชา โกโก้ น้ำอัดลม ช็อกโกแลต และเครื่องดื่มชูกำลัง หากดื่มกาแฟหลายถ้วยในหนึ่งวัน ควรหลีกเลี่ยงอาหารดังกล่าวเพื่อเป็นการไม่เพิ่มกาเฟอีนในร่างกาย

3. ระวังครีมเทียมและน้ำตาลที่เติมในกาแฟ เพราะยิ่ง เติมมาก ยิ่งเพิ่มแคลอรีให้กาแฟและเพิ่มพลังงานส่วนเกินให้ร่างกาย

4. หลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟในช่วงบ่ายหรือหัวค่ำ สำหรับผู้ที่มีอาการนอนหลับยาก

5. ไม่ดื่มกาแฟขณะท้องว่าง เพราะกาเฟอีนเร่งให้เกิดการหลั่งกรด หากเกิดเป็นประจำอาจส่งผลให้เกิดแผลในกระเพาะอาหารได้

6. ไม่หักโหมทำงานโดยใช้กาแฟเป็นตัวกระตุ้น เพราะ ในระยะยาวร่างกายอาจต้องการปริมาณกาเฟอีนจากกาแฟเพิ่มขึ้นอีก ส่งผลให้ร่างกายที่ไม่ได้พักอ่อนเพลียอย่างหนัก ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

7. ควรกินอาหารที่มีแคลเซียมเพิ่ม เช่น นม โยเกิร์ต ปลาเล็กปลาน้อย และผักใบเขียว เพราะกาแฟลดการดูดซึม แคลเซียม ทำให้เสี่ยงต่อภาวะกระดูกพรุน

8. ควรกินผักผลไม้ให้เพียงพอทุกวัน เนื่องจากในกระบวนการคั่วเมล็ดกาแฟจะมีฟรีแรดิคัลเกิดขึ้น วิตามินซี อี และเบต้าแคโรทีนในผักผลไม้สามารถช่วยกำจัดฟรีแรดิคัลในร่างกายได้

9. ดื่มน้ำสะอาดมากกว่า 8 - 10 แก้วต่อวัน เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำจากฤทธิ์ในการขับปัสสาวะของกาเฟอีน ดื่มอะไรแทนกาแฟ

     หาก คุณรู้สึกมีอาการปวดศีรษะ หน้ามืด อ่อนเพลีย ไม่กระฉับกระเฉง เพื่อบำบัดอาการดังกล่าวชนิดไร้ผลข้างเคียง แนะนำให้เลือกเครื่องดื่มเพิ่มความสดชื่นอย่าง น้ำอาร์ซีแทนกาแฟ หรือดื่มควบคู่กันไปในระหว่างลดปริมาณการดื่มกาแฟค่ะ

สำหรับใครที่ยังไม่เคยดื่ม เรามีสูตรทำน้ำอาร์ซีมาฝากด้วยค่ะ
วิธีทำ
1. ต้มข้าวเปลือกแข็ง ได้แก่ ข้าวสาลี ข้าวฟ่าง ข้าวบาร์เลย์ และลูกเดือย อย่างละ 1 ช้อนโต๊ะ ลูกบัว 10 เม็ด กับน้ำ 1 ลิตรจนเดือด

2. ใส่ข้าวแข็งปานกลาง คือ ข้าวซ้อมมือ ข้าวเหนียวซ้อมมือ ข้าวแดง (ข้าวมันปู) อย่างละ 2 ช้อนโต๊ะ ตามลงไป ต้มจนเดือดเป็นครั้งที่ 2

3. ใส่ข้าวโอ๊ต 2 ช้อนโต๊ะเป็นลำดับสุดท้าย ปิดไฟ ปล่อยให้ข้าวต่างๆ นอนก้น ตักเอาแต่น้ำใสๆ ดื่มขณะร้อน ครั้งละ 1 ถ้วยกาแฟหรือค่อนแก้ว หรือเก็บใส่กระติก เก็บความร้อนสำหรับดื่มทั้งวัน ควรดื่มให้หมดภายในหนึ่งวัน หากมีรสเปรี้ยวไม่ควรดื่ม

     ส่วน ข้าวที่เหลือจากการต้มน้ำอาร์ซีสามารถนำไปทำเป็นข้าวต้มหรือหุงเป็นข้าวสวย ก็อร่อย นอกจากแก้อาการอ่อนเพลียแล้ว ยังได้รับกากใย วิตามิน และแร่ธาตุจากธรรมชาติคับแก้วทีเดียวค่ะ

* * * * * *

ที่มา : ธนาคารกสิกรไทย
โดย : iLoveCoffeeTHAILAND

ลิ้งค์ที่น่าสนใจ
Job Kabinburi หางาน กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
Computer FC คอมพิวเตอร์ แฟนครับ 

แสดงความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม